เมื่อเครื่อง Precious Plastic ไปถึง UNESCO
เดือนมิถุนายน ปี 2019 ทิมและน้องโมสต์ intern ของ UNESCO ติดต่อเราเข้ามาว่าสนใจอยากเข้ามาดูเครื่อง Precious Plastic ที่โยโลสร้าง
เดือนมิถุนายน ปี 2019 ทิมและน้องโมสต์ intern ของ UNESCO ติดต่อเราเข้ามาว่าสนใจอยากเข้ามาดูเครื่อง Precious Plastic ที่โยโลสร้าง เพราะ UNESCO กำลังหาเครื่องมือที่จะเอาลงไปในพื้นที่ Ranong Biosphere Reserve หรือเขตสงวนชีวมณฑลระนองเพื่อลดขยะพลาสติกในพื้นที่ โยโลถึงได้มีโอกาสเข้าไปนำเสนอสิ่งที่เรากำลังทำอยู่
เดือนกรกฎาคม 2019 Benno, Chief of Natural Science Unit ในตอนนั้น บอกโยโลว่า มาเป็น longterm partner ให้กับยูเนสโก้ในโปรเจค Plastic Initiative กันเถอะ แล้วก็ให้เราสร้างเครื่อง shredder และเครื่อง compression เพื่อจะเอาไปลงพื้นที่
จากวันนั้นมาจนวันนี้ด้วยสถานการณ์โควิดที่ถาโถมเข้ามาทำให้โปรเจคนี้ไม่ถึงฝั่งฝัน เครื่องของเราที่สร้างเสร็จแล้วถูกปิดอยู่ที่ UNESCO เกือบสองปี จนวันนี้ก็มีทีม AIT (Asian Institute of Technology) ที่พร้อมนำเครื่องไปทำงานต่อเพื่อต่อยอดงานวิจัยเรื่องการรีไซเคิลพลาสติกต่อไป
ดีใจที่ในที่สุดโปรเจคนี้ก็ได้เดินหน้าต่อ และเราเชื่อว่างานวิจัยของ AIT จะสามารถต่อยอดเพื่อช่วยให้เกิดการรีไซเคิลในระดับชุมชนได้มากขึ้นในอนาคต
สองปีกว่าที่ผ่านมาเราได้เจอผู้คนที่น่ารักมากมายที่ยูเนสโก้ วันนี้ที่ได้เจอกันอีกครั้งมันเติมพลังใจให้มนุษย์ extrovert อย่างเราก้าวต่อไปได้จริง ๆ ถึงวันนี้เราจะยังแตะตัวกันไม่ได้ แต่รอโควิดซาแล้วจะไปกอดให้ครบทุกคนเลยยยย สู้ต่อไปโยโล
#preciousplastic
#plasticinitiative
#UNESCO
#AIT
#ZeroWasteYOLO