มาค่ะ มาสรุปเรื่องราวในวันนี้กัน แจ้งก่อนว่าบางข้อความเป็นความเห็นส่วนตัวของเกศเองเพราะฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นความคิดเห็นจากภาคีนะคะ
ยาวนิดนะคะ แต่น่าจะเป็นข้อมูลให้ทุกคนได้
การประชุมนี้หัวเรือใหญ่ คือ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำงานเรื่องนโยบายและการลงพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างมาหลายสิบปีแล้ว เพราะฉะนั้นอาจารย์และทีมงานในสถาบันจึงทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่าง ๆ เยอะมาก และเห็นว่าพวกเราทำงานเป็นโครงการทับซ้อนกันไปมา จึงอยากรวบรวมภาคีเครือข่ายท้ัง 30 องค์กรมาร่วมกันทำแผนงานที่จัดการขยะจาก "ต้นทาง" ได้จริง ๆ ซึ่งแผนนี้ทำมาตั้งแต่ก่อนที่อจ.ชัชชาติจะได้รับเลือกตั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ด้วยโควิดและอะไรต่าง ๆ การทำงานยังไม่เดินหน้า จนวันนี้ที่อจ.ชัชชาติและรองพรพรหมรับนัดแล้วจึงได้เสนอ "แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดการขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดของกทม." โดยเสนอเป็นแผนระยะ 3 ปี ตั้งแต่ 2566 - 2568 ซึ่งเป็นปีงบประมาณหน้าค่ะ
ในที่ประชุมจะมีภาคประชาชน ภาคกิจการเพื่อสังคมและ Start Ups ภาคเอกชน NGO และภาครัฐ ที่ทำงานเรื่องขยะทั้งขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิล ตั้งแต่ต้นทางการออกแบบแพคเพจจิ้งและการใช้วัสดุ ไปจนถึงปลายทางที่เป็นการเผาและแปรรูปเลย
สิ่งที่ได้เบื้องต้นจากการประชุมนี้ เกศขอสรุปหลัก ๆ ที่เป็นหัวใจก่อนนะคะ
ข้อแรก
--ทำลายความคิดเดิมเรื่องแยกแล้วก็เอาไปรวมกันของประชาชนซะ--
ต่อไป กทม.จะรณณงค์ให้คนกทม.แยกขยะเพราะกทม.จะจัดเก็บขยะแบบแยก เราจะลองทำลายการเก็บขนที่ทำให้ทุกคนสับสนว่า ถึงประชาชนจะแยกแค่ไหน รถขนขยะก็จะเอาไปทิ้งรวมกันค่ะ
ข้อสอง
--เราจะแยกขยะเปียกกับขยะแห้ง--
ถ้าแยกขยะเศษอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ เราจะลดปริมาณขยะสู่หลุมเทกองได้กว่า 50% ในส่วนนี้มีรายละเอียดเยอะเหลือเกินค่ะ แต่หลัก ๆ ภาคีเห็นตรงกันว่าเราต้องแยก เพราะฉะนั้นเดี๋ยวผู้เกี่ยวข้องจะไป work ต่อกันค่ะ
ข้อสาม
-- การจัดการขยะจากต้นทางต้องตอบสนองการจัดการที่ปลายทางด้วย--
ตอนที่เราทำแผน เราอยากจัดการขยะจากต้นทางเพราะเรารู้ว่าปัญหามันเกิดจากตรงนั้น แต่ว่าอจ.ชัชชาติที่มีข้อมูลและภาพทั้งหมดอยู่ในมือ กลับเสนอว่า การจัดการขยะจากต้นทางต้องตอบสนองเครื่องมือการจัดการขยะปลายทางที่กทม.มีด้วยนะ
และอยู่ ๆ อจ.ก็ให้ผู้ช่วยเปิดข้อมูล "ค่าใช้จ่าย" ที่ถูกผูกอยู่กับการจัดการขยะเฉยเลย อจ. แจงตรง ๆ ว่ามีข้อผูกพันจากการเซ็นสัญญาก่อนอจ.จะเข้ามาที่กทม. ต้องส่งขยะไปเผาให้ได้วันละ 1000 ตันเป็นระยะเวลา 10 ปี ถ้าปริมาณขยะที่ส่งไปน้อยกว่าจำนวนนี้ กทม. อาจจะถูกปรับ (อันนี้อจ. บอกไม่ชัวร์ขอกลับไปนั่งอ่านสัญญาทั้งหมดอีกที)
อจ. ก็กางข้อมูลตรง ๆ ว่าปัญหาคืออย่างนี้ สิ่งที่เราต้องช่วยอาจารย์คิด คือ จะบริหารจัดการยังไง เพราะตอนนี้ขยะถูกแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่โดนผูกพันว่าต้องจัดการด้วยการเผา (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง) และอีกส่วนที่เราเอาแผนปฏิบัติการนี้มาจับเพื่อจัดการขยะจากต้นทางไปสู่ปลายทางให้ได้อย่างเหมาะสม
ก่อนจบการประชุม อจ. ชัชชาติแจ้งว่า "เห็นด้วยกับแผนนี้" แต่ข้อมูลมีเยอะเหลือเกิน ขออาจารย์และรองพรพรหมและผอ.สำนักสิ่งแวดล้อมไปนั่งย่อยข้อมูลก่อนเพื่อนำความคิดเห็นมาแลกเปลี่ยนกัน
ตอนฟังประโยคนี้ก็รู้สึกตอนนั้นว่า "เออ...ก็คงประมาณนี้แหละ เสนอแผน เค้าก็ไปทำงานต่อ หมดหน้าที่เรา (แล้วมันก็คงเหมือนเดิม ๆ)"
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ อจ. ชัชชาติแจ้งอจ.สุจิตราของสถาบันวิจัย จุฬาฯ ว่าให้อจ. ไปตั้งคณะทำงานเพื่อทดลองแผนปฏิบัติการนี้ได้เลย แล้วแจ้งงบประมาณที่ต้องการมา และขอให้เข้าร่วมประชุมเพื่อลงรายละเอียดแผนการทำงานในวันที่ 6 ก.ค. 2565 นี้ (ไม่ต้องรอเป็นปี พี่จัดให้ใน 6 วัน )
ชอบประโยคนึงที่อจ.ชัชชาติบอกอจ.สุจิตราคือ "ขอแผนแบบใหญ่ ๆ โต ๆ หน่อยนะอาจารย์ เอาแบบ challenge challenge ให้กทม. หน่อย จะได้สร้าง impact ได้เยอะ ๆ"
หลังจากนั้นเมื่อสักครู่ที่ผ่านมาก็สั่งการนอกรอบ แนะนำพื้นที่นำร่องให้เลย 3 พื้นที่เพื่อเริ่มงาน แสดงว่าแผนปฏิบัติการที่บอกว่าหลายหน้า ข้อมูลเยอะนั้น อจ. น่าจะอ่านจบแล้ว
--------
เอาจริง ๆ นะ เห็นแสงสว่างอ่ะ เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
#ชัชชาติสิทธิพันธุ์
留言