#สรุป สิ่งที่โยโลได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank และร่วมออกแบบการจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน ที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยวันนี้
*กดดูรายละเอียดที่ภาพได้เลย*
การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงอาหารเป็นหนึ่งในนโยบาย 200 ข้อของผู้ว่าฯ ชัชชาติ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยรองผู้ว่าฯศานนท์และที่ปรึกษาฯพรพรหม
ที่ผ่านมากทม.ร่วมกับ 14 สำนักงานเขตกทม. ได้ลงมือทำโครงการต้นแบบกัน โดยร่วมมือกันกับภาคเอกชนต่าง ๆ อาทิ โครงการ "กินได้ไม่ทิ้ง" ของ TESCO LOTUS ที่ส่งต่ออาหารทานได้ให้พี่ไม้กวาด หรือร่วมกับ SOS กลุ่ม NGO ที่เป็นตัวกลางในการส่งต่ออาหารให้ผู้ยากไร้ เป็นต้น
จากการทำงานที่ผ่านมา สำนักงานเขต / สำนักสิ่งแวดล้อม / ภาคเอกชน / ภาคนโยบาย / สรรพากร / สวทช. เจอว่าระบบการจัดการอาหารส่วนเกินของกทม. ยังต้องพัฒนาขึ้นใน 5 หัวข้อ คือ
1. การสร้างแรงจูงใจและความร่วมมือ
1.1 การจัดการอาหารส่วนเกินมีค่าใช้จ่าย และรายละเอียดในเรื่องการควบคุมคุณภาพอาหารค่อนข้างมาก หลาย ๆ องค์กร ไม่ค่อยสนับสนุน เพราะเป็นการเสียค่าใช้จ่าย และไม่มีแรงจูงใจจากภาครัฐในด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ภาษี ค่าลดหย่อนต่าง ๆ เป็นต้น
1.2 หลาย ๆ แบรนด์มีนโยบาย "ไม่ส่งต่อ" อาหารทานได้ให้แก่คนอื่นด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือ กลัวว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์แบรนด์
2. การจัดการ Food Bank ควรมีทั้ง Pull Strategy และ Push Strategy คือ กลยุทธ์ "ดึง" ให้กลุ่มผู้เปราะบางเข้าถึงธนาคารอาหารได้ง่าย สะดวกกาย สบายใจ และกลยุทธ์ "ดัน" ให้อาหารที่ธนาคารอาหารสามารถส่งต่อไปยังกลุ่มผู้เปราะบางที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ หรือ กลุ่มพิเศษที่ไม่สะดวกออกมาที่ Food Bank ด้วย
3. การขนส่งอาหารจากผู้บริจาคไปยังกลุ่มผู้เปราะบางควรมีประสิทธิภาพกว่านี้
ปัจจุบันสำนักงานเขต ทำโครงการทดลองด้วยทรัพยากรที่จำกัด หากจะสร้างระบบที่เข้าถึงอย่างยั่งยืน การเพิ่มกำลังคน พาหนะเฉพาะ เช่น รถเก็บความเย็น, เรือเล็ก เป็นต้น งบประมาณในการจัดการค่าน้ำมัน, จัดหาเครื่องมืออุ่นอาหาร, ให้ความเย็นอาหารเป็นต้น ก็สำคัญต่อการสร้างระบบ Food Bank
4. ความปลอดภัยของอาหาร
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย/ข้อบังคับในการตรวจสอบคุณภาพอาหารเพื่อการบริจาคหรือการส่งต่อ ปัญหาความปลอดภัยของอาหารจึงเป็นหนึ่งในข้อกังวลหลักของผู้บริจาคว่าอาหารจะสามารถไปถึงมือผู้รับบริจาคในสภาพที่ "ยังพร้อมทานได้อย่างปลอดภัย" หรือไม่ เมื่อกฎเกณฑ์/ข้อปฏิบัติไม่ชัดเจน ไม่มีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญหรือนวัตกรรมการตรวจสอบอาหารที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยตรวจสอบในกระบวนการจึงเกิดความกังวลต่อทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาค
5. การเข้าถึงผู้เปราะบาง
กลุ่มผู้เปราะบางยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการจัดการอาหารส่วนเกินได้ ไม่ว่าจะเพราะไม่ทราบข้อมูล อายที่จะมารับอาหารฟรี หรือ เพราะไม่สะดวกมารับในช่วงเวลาที่มีการบริจาค ประเด็นการสร้างระบบที่สะดวก เข้าถึงง่าย ไม่น่าอาย จึงยังต้องพัฒนาให้เหมาะสมต่อไป
#กินได้ไม่ทิ้ง
#กรุงเทพไม่เทรวม

Comments