ในแวดวงพลาสติกกำพร้า มีแก้วกาแฟประเภทหนึ่งที่ทำด้วยพลาสติก PLA ที่เป็นไบโอพลาสติก แก้วประเภทนี้ทำจากเม็ดพลาสติกที่เรียกว่า PLA ซึ่งเป็นโพลีเมอร์โพลีเอสเตอร์ที่มีกรดแลคติกเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น ข้าวโพด เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพชนิดใหม่
ในท้องตลาดจะมีการนำไปทำเป็นแก้วกาแฟและบรรจุภัณฑ์อาหาร อาทิ แก้วกาแฟอเมซอนที่ PTT สาขาสำนักงานใหญ่ แก้วกาแฟอินทนิลของปั๊มบางจาก เป็นต้น
แก้วเหล่านี้สามารถย่อยสลายได้ด้วยวิธีการนำไปเป็นแก้วปลูกต้นกล้า และต้องฝังดินลึกหน่อย หรือบดให้เล็ก แล้วเอาไปฝังในกองปุ๋ยจะได้หมักย่อยสมบูรณ์ให้สลายไปใน 3-6 เดือน
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การย่อยสลายของ PLA ต้องอยู่ใน "สภาวะที่เหมาะสม" คือ ความชื้นได้ ความร้อนได้ แรงอัด/แรงกดได้
แก้วหรือบรรจุภัณฑ์ประเภท PLA ไม่สามารถโยนทิ้งไปเปล่า ๆ แล้วย่อยสลายได้ในธรรมชาตินะคะ
ปัญหาเหล่านี้ทำให้พลาสติก PLA เป็นพลาสติกไบโอชีวภาพแบบลูกผีลูกคน เพราะจะย่อยสลายตามธรรมชาติก็อิหลักอิเหลื่อ จะรีไซเคิลก็อิหลักอิเหลื่อ สุดท้าย PLA ก็อยู่ในสภาพยืนงงอยู่ในดงพลาสติกว่าจะเดินทางไปในทางไหนดี
ล่าสุดกลุ่ม Plaplus กลุ่มน้อง ๆ ไฟแรงที่เห็นปัญหาตรงนี้อยากลุกขึ้นมาจัดการปัญหา Bio-Plastic ในประเทศไทย ได้ส่งแก้วกาแฟ #อินทนิล มาขอให้โยโลช่วยเทสต์การขึ้นรูปพลาสติก PLA ให้หน่อย
เราเลยใช้เครื่อง Extrusion ฉีดเส้นพลาสติก rPLA ออกมา และอัดจานรองแก้ว rPLA ด้วยเครื่อง Injection ออกมาเพื่อให้น้อง ๆ นำไปวิจัยและต่อยอดว่าจะสามารถสร้างสรรค์อะไรได้จากชิ้นงานเหล่านี้บ้าง
เราขอบคุณน้อง ๆ คนรุ่นใหม่อย่าง PLAPLUS ที่อยากปิดช่องว่างปัญหาการจัดการ Bio-Plastic ที่จะย่อยสลายได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เรารอดูนะว่าจะมีสิ่งยอดเยี่ยมอะไรเกิดขึ้นจากกลุ่มน้อง ๆ บ้างในอนาคต ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในก้าวแรก ๆ ของน้อง ๆ ค่ะ
สำหรับแฟนเพจของโยโล ฝากไปติดตามเพจน้อง ๆ เป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ด้วยนะคะ แล้วก็แฟนเพจกทม. คนไหนถ้าสนใจอยากส่งแก้วกาแฟทุกชนิด รวมทั้งแก้ว PLA เบอร์ 7 ไปให้น้อง ๆ จัดการสามารถไป DROP ได้ที่ร้าน GET WELL ZONE ปากซอยเอกมัย 26 ทุกวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่ 10.00 - 18.00 น. นะคะ
#รักลูกให้รักษ์โลก
#พลาสติกpla
#แก้วเพาะกล้า
Comments