top of page

♻การเดินทางของพลาสติกกำพร้า

🐎พามาดูเส้นทางของพลาสติกกำพร้าที่เพื่อนโยโลส่งมาให้กันค่ะ


📌จากที่เพื่อน ๆ นำพลาสติกไปดรอปที่ตะแกรงเหลือง ซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานเขตทุกเขต ก็จะมีเจ้าหน้าที่ของทุกสำนักงานเขตนำไปส่งที่จุดพักรวมพลาสติกกำพร้า รถของโยโลจะเข้าไปรับ 2 จุดคือ ที่กองช่างพระราม 7 กับ ศาลาว่าการกทม.ดินแดงค่ะ


🚦หลังจากไปรับมาทั้ง 2 จุดแล้ว รถของโยโลจะนำไปส่งที่ชุมชนกองขยะหนองแขม เพื่อให้พี่ ๆ ที่ชุมชนคัดแยกแบบละเอียด เป็นแต่ละประเภทพลาสติกอย่างชัดเจน


🫶พลาสติกที่โยโลนำไปทำงานต่อได้คือ HDPE (ฝาขวด) PP (กล่องอาหาร ช้อน ส้อม มีด) และPS (ขวดยาคูลท์) ค่ะ ส่วนที่กำลังอยู่ในช่วงทดสอบว่าทำได้หรือไม่อย่างไรคือ แก้วและกล่องอาหาร PET ด้วยค่ะ (อันนี้เพิ่งเริ่มทดสอบและยังอีกยาวนานกว่าจะได้ผลสดสอบค่ะ เพราะอย่างที่บอกไปว่า PET ที่ไม่ใช่ขวดน้ำ รีไซเคิลยากมาก และคนก็ใช้กันเยอะมาก)😑


♻เมื่อคัดแยกแต่ละประเภทได้แล้ว ก็จะมีรถของทีมงานโยโลอีกหนึ่งทีมมารับพลาสติกไป คือ ชุมชนไทรน้อยค่ะ ที่นี่จะเป็นทีมผลิตสินค้าของโยโลทั้งหมดค่ะ


🌎อยากรู้ข้อมูลด้านไหนเข้าไปเช็คข้อมูลตามนี้ได้เลยค้า


📌จุดดรอปตะแกรงเหลือง และโยโลรับอะไรบ้าง https://www.zerowasteyolo.com/drop-points-and-collection

📌ติดต่องานที่ปรึกษา event และ training รวมถึงสั่งซื้อเครื่องจักรสำหรับบดและฉีดพลาสติก สินค้าต่าง ๆ ของโยโล https://www.zerowasteyolo.com/shop


🙇ตามไปตำกันได้เลยจ้า


#zerowaste #Sustainability #YOLOwork #พลาสติกกำพร้า #recycleplastic♻️ #ขยะกำพร้า #มือวิเศษกรุงเทพ



 
 
 

Comments


bottom of page