top of page

ปัญหาขยะและที่มาของ O-Waste

อัปเดตเมื่อ 1 พ.ย.

    ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ สำนักสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นว่าปริมาณขยะในประเทศไทยปี 2561 มีปริมาณมากถึง 27.80 ล้านตันต่อปี ในจำนวน 27.80 ล้านตัน 64% เป็นขยะอินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อีก 30% คือขยะที่สามารถนำไป recycle ได้, 3% เป็นขยะทั่วไปจำพวกซองขนม,กล่องโฟม และ 3% สุดท้าย คือ ขยะมีพิษ

     ในขณะที่สัดส่วนของขยะทั้งหมด ขยะที่ย่อยสลายได้มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 64%  แต่กลับมีการนำไปทำเป็นปุ๋ยแค่ 10%  และนำไปฝังกลบถึง 79% ซึ่งการฝังกลบทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ,ทางน้ำและทางกลิ่น นอกจากนั้นยังเป็นที่มาของแหล่งพาหะเกิดโรคและภาพอุจาดตาด้วย



      ใน 64% ที่เป็นขยะอินทรีย์นั้นไม่สามารถนำไปกำจัดได้อย่างถูกสุขาภิบาลหรือนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ได้สูงสุด เพราะไม่มีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพราะฉะนั้นหากต้องการจัดการขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นขยะส่วนใหญ่จากครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถทำได้ 3 ทาง คือ 

แยกขยะจากต้นทางในบ้านเรือน เพื่อให้กทม./เทศบาลนำไปจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดการขยะอินทร์ย์ที่เกิดจากบ้านเรือนด้วยการแปรรูปเป็นอย่างอื่นให้ก่อประโยชน์ ทั้งแยกขยะและจัดการขยะอินทรีย์ในเวลาเดียวกัน 

     




O-Waste เป็นเครื่องย่อยเศษอาหารจากครัวเรือนที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาขยะอินทรีย์ โดยตัวเครื่องได้รับการออกแบบไว้สำหรับใส่เศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนแยกจากขยะอื่น ๆ โดยใน O-Waste จะมีสารตั้งต้นที่สามารถย่อยเศษอาหารได้เร็วสุดภายใน 24 ชั่วโมง และช้าสุดคือภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อเศษอาหารในเครื่องกลายเป็นสารปรับปรุงดินแล้ว ทางผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะนำสารปรับปรุงดินที่แปรสภาพไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น ใช้ผสมปุ๋ยหมักหรือดินเพื่อปลูกต้นไม้, ใช้ในการถมที่ เป็นต้น หรือสามารถเลือกที่จะส่งต่อให้กับโครงการสวนออร์แกนิคที่เป็น Partner กับทาง YOLO เพื่อใช้ในการปลูกพืชผักอินทรีย์ต่อไป 

     หากในทุก ๆ ครัวเรือนมีการใช้ O-Waste ก็จะสามารถแยกขยะอินทรีย์ออกมาจากขยะอื่น ๆ ได้ตั้งแต่ในบ้าน ทำให้ขยะที่ออกมาจากบ้านเรือนเหลือแค่ขยะทั่วไป, ขยะที่สามารถนำไป Recycle ได้ และขยะมีพิษ ส่วนสารปรับปรุงดินที่เกิดขึ้นก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทิ้งลงหลุมฝังกลบทั้งหมด นอกจากนี้ YOLO ยังมีโครงการพัฒนาในการสร้างเครื่องจากขยะพลาสติกเพื่อเป็นการลดขยะพลาสติกอีก 30% ที่อยู่ในประเทศไทยด้วย


* อัพเดท ณ เดือนเมษายน 2562 เครื่อง O-Waste กลมกลิ้ง รุ่น Kickstarter เริ่มออกสู่ตลาดแล้ว ส่วนเครื่อง O-Waste รุ่นไฟฟ้ากำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา Prototype ไปสู่ระดับการผลิตแบบอุตสาหกรรม


bottom of page