top of page

ข้อมูล single use plastic ของไทยปี 65

  • รูปภาพนักเขียน: Kate Paratipcharoenchai
    Kate Paratipcharoenchai
  • 7 ส.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

*****กระดกจากขวดแบบนี้ไม่เรียบร้อยเลย ทำไมไม่ใช้หลอด*****


เสียงพ่อแม่แอดลอยมาเลยยยยย มันมียุคนึงที่เราได้รับการสอนมาแบบนี้จริง ๆ ค่ะ แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน ความคิดบางอย่างก็อาจถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้วเหมือนกันไหมนะ ตอนนี้ขยะพลาสติกจะล้นประเทศ และล้นโลกอีกในไม่ช้า ถ้าเรายังไม่ลด “การใช้พลาสติก Single Use” กัน


จากข้อมูลของกรมอนามัย ประชาชน 50.8% ใช้พลาสติก 2-3 ชิ้นต่อวัน

โดย 72.2% เป็นถุงพลาสติกหูหิ้วมากที่สุด

รองลงมา คือ ขวดน้ำพลาสติก และหลอดพลาสติก


สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ ปี 2565 พบว่า

มีขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 11% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือ 2.83 ล้านตันต่อปี

โดยมีการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ซ้ำเพียง 25% หรือประมาณ 0.71 ล้านตันเท่านั้น

ส่วนที่เหลือประมาณ 2.04 ล้านตัน จะถูกนำไปฝังกลบรวมกับขยะอื่น ๆ ในขณะที่ 0.08 ล้านตัน ไม่ได้รับการจัดการและตกค้างในสิ่งแวดล้อม


ที่จริงแล้วการรีไซเคิลเป็นการแก้ปัญหาปลายทางค่ะ การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดและไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรเลย คือ การลดการใช้พลาสติกที่ใช้คร้ังเดียวทิ้ง หรือ Single Use Plastic ให้ได้น้อยที่สุด แต่ว่า เรายังคงใช้กันกระหน่ำ เหตุด้วยความเคยชิน ความสะดวก ใช้ไปก่อนแล้วค่อยแยกเอาไปรีไซเคิลก็ได้

แต่ทราบไหมคะว่าในประเทศไทย Single Use Plastic โดยส่วนใหญ่ “รีไซเคิลไม่ได้” ค่ะ


ตัวอย่างเช่น หลอดพลาสติก ก็รีไซเคิลได้ยากมากเพราะเป็นพลาสติกเนื้อบาง มีสีที่หลากหลาย ไม่คุ้มทุนในการรีไซเคิลระดับอุตสาหกรรม แถมหลอดในช่วงหลัง ๆ ทำจากพลาสติกชีวภาพ หรือ Bio-Plastic อีก ยิ่งทำให้การรีไซเคิล Single Use Plastic ประเภทนี้ยากขึ้นกว่าเดิมอีกค่ะ


ล่าสุดก็มีงานวิจัยออกมาว่า พบ “สารเคมีตลอดกาล” หรือ PFAS ในหลอดกระดาษ หลอดไม้ไผ่ หลอดพลาสติก และหลอดแก้วด้วยนะคะ มีแค่ “หลอดแสตนเลส” เท่านั้นที่ไม่พบสารเคมีตัวนี้ แล้วสารตัวนี้ส่งผลให้ร่างกายมนุษย์เกิดมะเร็ง เสี่ยงเป็นหมัน และเกิดโรคไตได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นการใช้หลอดอย่างอื่นทดแทนไม่ได้ส่งผลดีกับร่างกายเราน้า


เพราะฉะนั้น ถ้าจะใช้หลอดพลาสติกก็ใช้ได้ค่ะ แต่ใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าอยู่บ้านก็เทใส่แก้วดื่ม หรือกระดกเลยยังได้ ไม่ต้องห่วงว่าใครจะว่าไม่เรียบร้อย แต่ถ้าจะใช้ อยากแนะนำให้ใช้หลอดสแตนเลสมากกว่าค่ะ เพราะใช้ได้ยาว ๆ ล้างทำความสะอาดได้ จะเลิกใช้หลอดเลยก็ไม่ได้แต่ก็ช่วยลดการสร้างขยะพลาสติกไปได้เยอะเลยค่ะ


ช่วย ๆ กันน้า เพราะโยโลเอง ตั้งแต่ที่หลอดผลิตจากพลาสติกชีวภาพมากขึ้น เราก็ “ไม่ได้รับ” แล้ว เพราะว่าไม่สามารถเอามาช่วยรีไซเคิลได้ ตอนนี้รู้สึกว่าจะมีแค่ Green Road กับทาง N15 แล้ว ที่รับเอาไปทำอิฐ กับ เผาเป็นพลังงาน เพราะฉะนั้นถ้าช่วยกันได้ตั้งแต่ต้นทาง “งดใช้” กันเสีย ก็ไม่ต้องมาลำบากช่วยกันหาทางไปที่ปลายทางกันแบบนี้ค่ะ


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : เดลี่นิวส์


- ก้อย โยโล -

Comments


bottom of page